แล้ว RPA มันทำงานอย่างไร
หากว่าการเข้ามาของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ได้เปลี่ยนพื้นโรงงานธรรมดาจากหน้ามือเป็นหลังมือ บอท หรือ หุ่นยนต์ในระบบ RPA ก็เปลี่ยนโฉมการทำงานหลังบ้านของสำนักงานไปอย่างสิ้นเชิง เช่นกัน บอทของ RPA จะสามารถทำซ้ำกิจกรรม หรือ การกระทำใดๆของพนักงานที่มักเกิดขึ้นเช่นเดิม ซ้ำไปซ้ำมา อาทิเช่น การเปิดไฟล์, การป้อนข้อมูล, การคัดลอกฟิลด์ไปวางในสถานที่เดิมๆแบบอัตโนมัติ เป็นต้น พวกเขาโต้ตอบกับระบบที่แตกต่างกัน ผ่านการรวมระบบ และการคัดลอกหน้าจอ ทำให้เครื่องมือ และ บอทในระบบ RPA ดำเนินการเหมือนพนักงานคนหนึ่งในสำนักงานนั่นเอง
ระบบ RPA ต่างๆ จะดำเนินการโดยเรียกใช้งานเวิร์กโฟลว์ หรือ ขั้นตอนการไหลของงานต่างๆที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี ซึ่งได้ให้คำแนะนำกับหุ่นยนต์ หรือ บอท เกี่ยวกับสิ่งที่พวกมันต้องทำในแต่ละขั้นตอน และเมื่อเวิร์กโฟลว์นี้ถูกโปรแกรมเข้าสู่ระบบ RPA ตัวซอฟต์แวร์ก็จะสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมโดยอัตโนมัติ และทำงานเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น หนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่ใช้กันทั่วไปในโลกแห่งความจริงสำหรับ RPA คือ “การสร้างใบแจ้งหนี้อัตโนมัติ” สิ่งนี่เป็นฟังก์ชั่นที่จำเป็นสำหรับทุกธุรกิจเลยก็ว่าได้ แต่บ่อยครั้งอาจเป็นกระบวนการที่น่าเบื่อซ้ำซาก และเสียเวลาสำหรับพนักงานที่เป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งอาจต้องจัดการกับใบแจ้งหนี้ที่เหมือนกัน หลายร้อยหรือหลายพันใบ ทุกๆวัน!
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระบวนการสร้างใบแจ้งหนี้นี้ มีขั้นตอนการดำเนินการที่ค่อนข้างชัดเจน และ ตายตัว มันจึงเป็นขั้นตอนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ การนำ RPA มาช่วยเหลือ ในธุรกิจทั่วไปๆ เวิร์กโฟลว์สำหรับงานออกเอกสารนี้อาจมีลักษณะเช่นนี้:
- ได้รับคำขอใบแจ้งหนี้ทางอีเมล์
- ผู้ประกอบการเปิดซอฟต์แวร์การเรียกเก็บเงินที่เกี่ยวข้อง
- ข้อมูลถูกถอดความจากคำขออีเมล์ และส่งไปยังซอฟต์แวร์
- ใบแจ้งหนี้ถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลที่ถูกถอดนี้ และเก็บบันทึกเข้าระบบ
- ผู้ส่งเมล์คำขอ จะได้รับแจ้งว่ากระบวนการเสร็จสมบูรณ์
ดังนั้น เครื่องมือ RPA ที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถตั้งโปรแกรมให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้ทั้งหมด เมื่อได้รับคำขอทางอีเมล์โดยไม่มีการป้อนข้อมูลจากบุคลากร/มนุษย์เลย การตระเตรียม และล้างข้อมูลอย่างถูกต้องไว้ก่อนล่วงหน้า ดังนั้นมันจึงมีความถูกต้องสูง รูปแบบการดำเนินการที่มีโครงสร้างชัดเจน ช่วยให้บอทสามารถคัดลอก และวาง ข้อมูลจากฟิลด์หนึ่งไปอีกฟิลด์หนึ่งได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องมีการควบคุมใดๆ
RPA for Invoice Processing (Automate in 5 Steps) |
Insurance Use Case Demo – Vehicle Damage Estimation – UiPath RPA plus Google Machine Learning/AI |
UiPath software robot at work processing invoices in SAP |
UiPath Demo: Invoice Extraction and Processing |
|
ขอบคุณที่มาของข้อมูล: aimultiple.com, insightsforprofessionals.com